ถ้าหากคุณจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และต้องการที่จะเรียนต่อระดับปริญญาตรีในเยอรมนี โดยทั่วไปแล้วคุณจะไม่สามารถสมัครเข้าระดับปริญญาตรีโดยตรงได้ แต่ต้องผ่านการเรียนในระดับเตรียมมหาวิทยาลัย (Studienkolleg) ก่อน โดยการที่จะเข้าเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยได้ จะต้องมีระดับภาษาเยอรมันถึงตามที่กำหนด และจะต้องผ่านการสอบคัดเลือก (Aufnahmeprüfung) ด้วย
การเรียนในระดับเตรียมมหาวิทยาลัยนี้ จะมีเนื้อหาพื้นฐานตามสายวิชา โดยจะเรียนเป็นภาษาเยอรมันเป็นเวลาประมาณ 1-2 เทอม เมื่อเรียนจบตามหลักสูตรจะสามารถสอบจบการศึกษาในสถาบันนั้น (Feststellungsprüfung) หลังจากนั้นจึงจะนำผลสอบไปยื่นสมัครมหาวิทยาลัยได้
ในกรณีที่คุณเคยศึกษาในระดับปริญญาตรีมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี หรือจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี (หรือเทียบเท่า) แล้ว สามารถสมัครเข้าเรียนปริญญาตรีในสาขาที่จบมาได้โดยตรงกับมหาวิทยาลัยนั้น ๆ โดยต้องผ่านระดับภาษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งนี้บางมหาวิทยาลัยอาจให้สอบเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัย
นักเรียนที่เรียนในสาขาศิลปะ เช่น ดนตรี การแสดง หรือ วาดภาพ จะมีการสอบเพิ่มเติมเพื่อวัดความสามารถเฉพาะทางในด้านนั้น ๆ
อนึ่ง โดยทั่วไปแล้ว การเรียนปริญญาตรีในประเทศเยอรมนีจะใช้ภาษาเยอรมันเป็นหลัก ในบางมหาวิทยาลัยอาจมีการเปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษบ้าง ซึ่งก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามแต่ละมหาวิทยาลัย
ยกระดับเกมการสูบไอของคุณด้วย Elfbar Vape: ยกระดับสไตล์และรสนิยมของคุณด้วยเครื่องทำไอระเหยที่ล้ำสมัยของเรา เยี่ยมelfbc5000.sk เพื่อประสบการณ์การสูบไอขั้นสุดยอด ค้นพบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงมากมายที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความอยากของคุณ ยกระดับประสาทสัมผัสของคุณและดื่มด่ำไปกับโลกแห่ง Elfbar Vape วันนี้!
การเตรียมตัว
ก่อนสมัครเข้าเรียนปริญญาตรี สามารถตรวจสอบวุฒิการศึกษาที่มี ได้ที่นี่ เพื่อตัดสินใจว่าจะสมัครเข้าเรียนใน Studienkolleg หรือ สมัครเรียนปริญญาตรีโดยตรง
โดยทั่วไปแล้ว นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เทียบเท่า (ปวช, โรงเรียนเตรียมทหาร, หรืออื่น ๆ ) จะสามารถสมัครเรียนต่อปริญญาตรีในเยอรมนีได้โดยผ่านการสอบ Feststellungsprüfung หรือข้อสอบจบการศึกษา จาก Studienkolleg เท่านั้น
หากศึกษาในระดับปริญญาตรีมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี หรือจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้วหรือเทียบเท่า สามารถสมัครเข้าเรียนปริญญาตรีในสาขาที่จบมาได้โดยตรงกับมหาวิทยาลัยนั้น ๆ โดยต้องผ่านระดับภาษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด มหาวิทยาลัยอาจให้สอบเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยนั้น ๆ
สำหรับสมัครเข้า Studienkolleg
โดยทั่วไปการสมัครเข้า Studienkolleg จะมีระดับภาษาขั้นต่ำอยู่ที่ B1-B2 ขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบัน ข้อมูลการสอบภาษาสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ของ Goethe ที่ Zertifikat Deutsch
สำหรับสมัครเข้า ปริญญาตรีโดยตรง
การสมัครเข้าปริญญาตรีโดยตรงสำหรับนักเรียนต่างชาติจะต้องมีระดับภาษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยทั่วไปจะอยู่ในระดับ C1 ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย โดยสามารถเลือกสอบได้หลายช่องทาง โดยในที่นี้จะนำเสนอช่องทางหลักๆ สามารถอ่านได้ที่หมวด การทดสอบภาษาเยอรมัน
การทดสอบภาษาเยอรมัน
DSH (เด เอส ฮา) หรือ Deutsche Sprachpruefung fuer den Hochschulzugang auslaendischer Studienbewerberเปิดสอบเฉพาะในมหาวิทยาลัยที่เยอรมนีเท่านั้น โดยมหาวิทยาลัยจะมีการเปิดคอร์สเตรียมตัวสำหรับสอบ DSH ให้นักศึกษาที่ได้ใบตอบรับ (Zulassung) จากมหาวิทยาลัยนั้นๆ แล้ว หากยังไม่ได้ใบตอบรับจากมหาวิทยาลัยก็สามารถไปเรียนเพื่อเตรียมสอบได้ในสถาบันสอนภาษาหลายๆ แห่ง เช่น Goethe Institut, Volkhochschule บางสาขา, ศูนย์ภาษาของบางมหาวิทยาลัย เป็นต้น ข้อสอบ DSH จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในเยอรมนีจะอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน แต่เนื่องจากเป็นข้อสอบที่มหาวิทยาลัยนั้นๆ เป็นผู้ออก ทำให้เนื้อหาของข้อสอบไม่เหมือนกันเสียทีเดียว อย่างไรก็ตาม ผลสอบ DSH จากทุกมหาวิทยาลัยในเยอรมนี สามารถเอาไปใช้สำหรับสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้
ตามปกติ มหาวิทยาลัยต่างๆ จะเปิดสอบ DSH สองครั้งต่อปี คือ 3-4 สัปดาห์ก่อนเปิดภาคเรียนฤดูหนาวและภาคเรียนฤดูร้อน (ภาคเรียนฤดูหนาวเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม, ภาคเรียนฤดูร้อนเริ่มวันที่ 1 เมษายน) โดยมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะเป็นผู้กำหนดตารางการสอบเอง โดยสามารถดูตารางสอบได้ที่ DSH Termine
การสอบ DSH ประกอบไปด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ การสอบข้อเขียน (ทักษะการฟัง อ่าน และเขียน) ซึ่งใช้เวลารวมประมาณ 3-4 ชั่วโมง และการสอบปากเปล่าซึ่งใช้เวลาเป็นอย่างมาก 20 นาที ผลสอบ DSH แบ่งเป็นดังนี้
- DSH-1 ผลสอบข้อเขียนและ ปากเปล่า อย่างต่ำ 57%
- DSH-2 ผลสอบข้อเขียนและ ปากเปล่า อย่างต่ำ 67%
- DSH-3 ผลสอบข้อเขียนและ ปากเปล่า อย่างต่ำ 82%
ผลสอบข้อเขียนและข้อสอบปากเปล่าจะไม่สามารถนำมาชดเชยกันได้ โดยผลสอบรวมที่ได้คือผลสอบของส่วนที่ได้คะแนนน้อยกว่า เช่น หากได้ข้อเขียน 60% และปากเปล่า 70% ก็ให้ถือว่าผลสอบ DSH รวมแล้วได้ 60% หรือ DSH-1 นั่นเอง
โดยปกติ มหาวิทยาลัยจะรับนักศึกษาเข้าเรียน เมื่อได้ผลสอบ DSH-2 เป็นอย่างต่ำ อย่างไรก็ตาม ควรสอบถามจากทางมหาวิทยาลัยให้แน่ใจก่อน ว่าต้องการผลสอบเท่าใด สถานที่ที่ควรไปติดต่อ ก็คือ International Office หรือ Akademischer Auslandamt ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ
รายละเอียดปลีกย่อยของการสอบ DSH ในส่วนของลักษณะข้อสอบ สามารถดูคลิปวิดีโอข้างบน หรือ เข้าไปอ่านได้ใน TSVD พาไปเรียน
TestDaF (เทสท์ ดาฟ) ย่อมาจาก "Test Deutsch als Fremdsprache“ เป็นข้อสอบที่เทียบเท่า DSH ข้อดีของการสอบ TestDaF คือ สามารถสอบได้ทั้งที่เมืองไทย และที่เยอรมนี ที่เมืองไทยมีศูนย์สอบคือ Goethe Institut โดย สามารถติดต่อไปทาง Goethe-Institut Bangkok Sprachabteilung 18/1 ซอยเกอเธ่ ถ. สาทร ซอย 1 กรุงเทพฯ 10120 สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ TestDaF - Goethe-Institut
การสอบ TestDaF ประกอบไปด้วย การสอบฟัง พูด อ่าน และเขียน ซึ่งทักษะทั้งสี่จะแยกกันสอบ ในใบประกาศผลสอบจะมีคะแนนของทั้งสี่ส่วนแยกกัน สามารถดูตารางสอบได้ที่นี่ Alle TestDaF-Testzentren in 100 Ländern
ผลสอบของ TestDaF แบ่งเป็นดังนี้
- TestDaF-Niveaustufe 5 (TDN 5)
- TestDaF-Niveaustufe 4 (TDN 4)
- TestDaF-Niveaustufe 3 (TDN 3)
โดยปกติแล้วมหาวิทยาลัยจะรับผู้สมัครที่ได้ TesfDaF ระดับ TDN 4 จากการสอบทั้ง 4 ทักษะ (ฟัง พูด อ่าน เขียน) เป็นอย่างต่ำ อย่างไรก็ดี บางคณะในบางมหาวิทยาลัย ก็เปิดรับนักศึกษาที่มีผลสอบต่ำกว่า TDN 4 เล็กน้อย รายละเอียดอันนี้ คงต้องเข้าไปดูในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่อยากสมัครเข้าเรียนเพื่อความแน่นอน
สำหรับรายละเอียดปลีกย่อยของการสอบ สามารถเข้าไปดูได้ในเว็บไซต์ของ TestDaF Institut ซึ่งมีไฟล์ pdf สำหรับข้อมูลภาษาอังกฤษให้อ่าน ส่วนตัวเว็บไซต์จริงๆ นั้นมีเฉพาะภาษาเยอรมัน TestDaf
สามารถลองอ่านประสบการณ์การเตรียมตัวและการสอบ TestDaF ที่ประเทศไทยได้ใน บล็อกนี้
นอกจากนี้ยังอาจมีการสอบอื่นๆ ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปเช่น Goethe B1, B2, TELC B1, B2, TELC C1 Hochschule โดยบางชนิดสามารถใช้แทนผลสอบข้างต้นได้ แต่อย่างไรก็ดีให้ตรวจสอบจากเวบไซต์จากมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งด้วย
Studienkolleg
Studienkolleg คือ โรงเรียนเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย นักเรียนที่จบ มัธยมศึกษาปีที่หก (เกรดสิบสอง) จะต้องเข้าเรียนที่นี่เป็นเวลาประมาณ 1-2 เทอมตามหลักสูตร เป็นการรวมเฉพาะนักเรียนต่างชาติเท่านั้น ที่ Studienkolleg จะต้องเรียนวิชาพื้นฐานทั่ว ๆ ไปด้วย ส่วนจะวิชาใดบ้างนั้น ขึ้นอยู่กับว่าต้องการเรียนคณะอะไรต่อไปในมหาวิทยาลัย
การเรียน Studienkolleg เป็นการเทียบระดับชั้นให้เท่ากับระบบการศึกษาของเยอรมนี เพราะทางเยอรมนีมีระบบการศึกษาสิบสามเกรด และมีการสอบจบที่เรียกว่า Abitur ทำให้ข้อสอบของ Studienkolleg จะมีระดับเทียบเท่า Abitur ของนักเรียนเยอรมัน แต่มีชื่อเรียกว่า Feststellungsprüfung (FSP)
คอร์สเรียนเพื่อเตรียมสอบ Feststellungsprüfung ของ Studienkolleg แบ่งตามสาขาวิชา มีดังต่อไปนี้
- T-Kurse (Technische Kurse) สำหรับผู้ต้องการเรียนด้านวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (ยกเว้นชีววิทยา) เรียนและสอบภาษาเยอรมัน คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์และหรือเคมี ในกรณีที่เป็น Studienkolleg ภายใต้สังกัด Fachhochschule จะมีการเปิดสอนคอมพิวเตอร์ด้วย
- M-Kurse (Medizinische Kurse) สำหรับผู้ต้องการเรียนด้านแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ชีววิทยา เรียนและสอบภาษาเยอรมัน ชีววิทยาและหรือเคมี ฟิสิกส์และหรือคณิตศาสตร์
- W-Kurse (Wirtschaftlische Kurse) สำหรับผู้ต้องการเรียนด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ กฎหมาย เรียนและสอบภาษาเยอรมัน คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และหรือบริหารธุรกิจ
- G-Kurse (Geisteswissenschaftliche Kurse) สำหรับผู้ต้องการเรียนด้านภาษาและวรรณคดีเยอรมัน ประวัติศาสตร์ ปรัชญา กฎหมาย การละคร เรียนและสอบภาษาเยอรมัน วรรณคดีเยอรมัน ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษาหรือภูมิศาสตร์
- S-Kurse (Sprachliche Kurse) สำหรับผู้ต้องการเรียนด้านอักษรศาสตร์ ยกเว้นภาษาและวรรณคดีเยอรมัน เรียนและสอบ ภาษาเยอรมัน ภาษาต่างประเทศอีกหนึ่งภาษา ประวัติศาสตร์หรือสังคมศึกษาหรือภูมิศาสตร์หรือวรรณคดีเยอรมัน
ทางมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้จัดคอร์สเรียนให้เราเองตามคณะที่เราสมัคร Schwerpunkt-Kurs | uni-assist eV
การสมัครสอบเพื่อเข้าเรียน Studienkolleg นั้น ต้องเลือกมหาวิทยาลัยที่ต้องการจะเรียนก่อน เพราะว่าแต่ละแห่ง แต่ละคณะนั้นอาจเปิดรับสมัครไม่พร้อมกัน หรือการสมัครไม่เหมือนกัน โดยสามารถเข้าไปดูกันที่ Studienkollegs in Deutschland จะมีรายชื่อทั้งหมด พร้อมที่อยู่ และเว็บไซต์
การสมัครเรียน Studienkolleg นั้น ทำได้ 2 วิธี คือ สมัครผ่าน STK โดยตรง หรือ สมัครผ่าน Uni-assist ซึ่งทั้งสองวิธีจะทำการสมัครผ่านมหาวิทยาลัยที่ตัวเองอยากเข้า แล้วทางมหาวิทยาลัยจะส่งไปสอบเข้า Studienkolleg เอง ส่วนจะเป็น Studienkolleg ที่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับว่าทางมหาวิทยาลัยกับ Studienkolleg ที่เมืองนั้นๆ ตกลงกันไว้ เพราะมันไม่ได้มีทุกเมือง ด้วยเหตุนี้ จึงแนะนำให้ เลือกมหาวิทยาลัยที่อยากเรียนเป็นหลัก ยังไม่ต้องสนใจ Studienkolleg มากนักว่าจะเรียนที่ไหนดี uni-assist.de
หลักฐานที่ต้องสมัคร
- Deutschkenntnisse หรือ ความรู้ภาษาเยอรมันระดับ B1-B2 โดยประมาณ
- Transcript of Records อาจจะต้องส่งทั้งตัวจริงและที่แปลเป็นภาษาเยอรมันด้วย หรือให้สถานทูตรับรอง
- หลักฐานทางการเงิน ทำได้ที่ธนาคาร
- ใบรับรองว่าเราจบจากโรงเรียนมัธยมศึกษาปีที่หก (เกรดสิบสอง) หรือใบรับรองการจบปริญญาตรี อันนี้
- ใบสมัครเรียน เรียกว่า Antrag auf Zulassung zum Studium für ausländische Studienbewerber สามารถหา Download ได้ที่ตามหน้าเวบไซต์ของ International Office หรือ Akademisches Auslandsamt (AAA) ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ
- การส่งใบสมัครนั้น โดยส่วนใหญ่ ต้องส่งไปที่ Akademisches Auslandsamt ของมหาวิทยาลัยที่เราจะสมัคร วันหมดเขตรับสมัครขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัย วันสอบ ไม่ใช่วันสมัครนะ Aufnahmetest Studienkolleg | Aufnahmeprüfung Termine
การสมัครผ่าน uni-assist นั้น สามารถสมัครหลายๆ มหาวิทยาลัยได้พร้อมกัน โดยส่งเอกสารและหลักฐานต่างๆ ไปเพียงชุดเดียว uni-assist จะคิดค่าตรวจเอกสาร 75 Euro สำหรับมหาวิทยาลัยแรก และ 30 Euro สำหรับมหาวิทยาลัยต่อๆ ไป ดูรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ http://www.uni-assist.de/
เมื่อดำเนินการยื่นเอกสารเพื่อสมัครแล้ว หากมหาวิทยาลัยตอบรับให้ไปสอบ มหาวิทยาลัยนั้นๆจะส่งใบเชิญสอบเรียกว่า Einladung มาให้ โดยในเอกสารนั้นจะมีตารางสอบและสถานที่สอบ ในกรณีที่สอบติดจะต้องใช้เอกสารเหล่านี้อีกครั้งควบคู่กับใบจบจาก Studienkolleg ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย
การสอบเข้า Studienkolleg นี้จะต้องสอบให้ผ่านก่อนวีซ่าหมดอายุ หากยังสอบเข้าไม่ได้ตามระยะเวลาที่วีซ่ากำหนด สามารถยื่นขอวีซ่าเพิ่ม และสอบใหม่ได้ตามกำหนดการของแต่ละสถาบัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่ดุลยพินิจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองว่าจะให้ต่อวีซ่าหรือไม่ โดยหากใช้เวลานานมากกว่าสองปี อาจไม่ได้รับการพิจารณา
ข้อสอบเข้า Studienkolleg โดยทั่วไปไม่ได้มีเฉพาะวิชาภาษาเยอรมันเท่านั้น แต่จะมีวิชาอื่นๆ ตามแต่ละสาขานั้นๆ ด้วย เช่นคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์ ส่วนระดับความยากง่ายต้องดูตามตัวอย่างข้อสอบในเว็บไซต์ Studienkolleg ที่จะสอบ เนื่องจากแต่ละแห่งแตกต่างกันพอสมควร ส่วนสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนเพื่อเตรียมสอบ DSH นั้น ข้อสอบเข้าจะมีแต่วิชาภาษาเยอรมัน
กรณีเปลี่ยน Kurse ระหว่างภาคการศึกษา สามารถทำได้โดยการโอนวิชาที่สอบแล้ว เช่นภาษาเยอรมัน ไปยัง Kurse อื่นที่จะเรียนได้ แต่วิชาเฉพาะ Kurse นั้นๆ ต้องเรียนใหม่ตั้งแต่ต้น
อนึ่ง ส.น.ท.ย. ได้จัดทำคลิปวีดิโอเพื่อช่วยในการเตรียมตัวสอบไว้ทั้งสิ้น 2 วิชา คือภาษาเยอรมัน และคณิตศาสตร์ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
สถาบันอุดมศึกษาในเยอรมนี
สถาบันอุดมศึกษาเชิงทฤษฎี เน้นวิชาความรู้เชิงทฤษฏีและการวิจัย เช่น Universität, Technische Universität, Technische Hochschule
-
- Universität: มหาวิทยาลัยทั่วไป สามารถเปิดสอนหลักสูตรเชิงทฤษฎีได้ทุกสาขาวิชา
- Technische Hochschule หรือ Technische Universität: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ซึ่งแต่เดิมเปิดสอนเฉพาะวิชาทางสายวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (เชิงทฤษฎี) แต่ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยเหล่านี้หลายๆ แห่งได้เปิดสอนคณะทางสายศิลป์มากขึ้น แต่สาขาที่เด่นๆ มักจะเป็นสาขาเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์เหมือนเดิม
- Medizinische Hochschule: มหาวิทยาลัยการแพทย์
สถาบันอุดมศึกษาเชิงประยุกต์ เน้นวิชาความรู้เชิงประยุกต์และเชิงปฎิบัติ เช่น Fachhochschule
Fachhochschule (University of Applied Sciences): มหาวิทยาลัยเชิงประยุกต์ เน้นการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติและการทำงาน
ข้อแตกต่างของสถาบันทั้งสองประเภทแรก นอกจากจะอยู่ที่แนวทางการศึกษาที่แตกต่างกันแล้ว สิ่งสำคัญที่ผู้สนใจศึกษาต่อควรทราบคือ สถาบันเชิงประยุกต์นั้นไม่สามารถให้ปริญญาเอกได้ นอกเสียจากว่าจะมีความร่วมมือกับมหาลัยเชิงทฤษฎีอื่นหรือมหาวิทยาลัยต่างประเทศในหลักสูตรปริญญาเอก
สามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : Hochschulen in Deutschland - Universität, Fachhochschule, usw. Find Programme & University
สถานศึกษาประเภทพิเศษที่ไม่จัดอยู่ในสองประเภทข้างต้น เช่น Gesamthochschule ที่มีหลักสูตรทั้งเชิงทฤษฎีและเชิงประยุกต์ หรือ Kunst-/Musikhochschule ที่บางแห่งสามารถเปิดสอนระดับปริญญาเอกได้ แต่บางแห่งก็ไม่สามารถเปิดได้
-
- Musikhochschule: มหาวิทยาลัยดนตรี
- Kunsthochschule: มหาวิทยาลัยศิลปะ
- Pädagogische Hochschule: มหาวิทยาลัยครู
สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : Hochschularten (Uni, FH, PH, BA etc.)
ข้อแตกต่างของสถาบันทั้งสองประเภทแรก นอกจากจะอยู่ที่แนวทางการศึกษาที่แตกต่างกันแล้ว สิ่งสำคัญที่ผู้สนใจศึกษาต่อควรทราบคือ สถาบันเชิงประยุกต์นั้นไม่สามารถให้ปริญญาเอกได้[1] นอกเสียจากว่าจะมีความร่วมมือกับมหาลัยเชิงทฤษฎีอื่นหรือมหาวิทยาลัยต่างประเทศในหลักสูตรปริญญาเอก
สามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : Hochschulen in Deutschland - Universität, Fachhochschule, usw. Find Programme & University
ค่าใช้จ่ายในการศึกษา
โดยทั่วไปแล้ว ทุกมหาวิทยาลัยทุกหลักสูตรในเยอรมนีจะเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา (ซึ่งมักจะไม่แพงมาก) แต่จะมีบางมหาวิทยาลัยหรือบางหลักสูตรเท่านั้นที่เก็บค่าเล่าเรียนเพิ่มเติมจากค่าธรรมเนียมดังกล่าว
ในแต่ละภาคการศึกษา นักศึกษาจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมมหาวิทยาลัย ค่าธรรมเนียมกองกิจการนักศึกษา (Studentenwerk) และอื่นๆ ซึ่งเรียกรวมกันว่า Studienbeitrag ค่าใช้จ่ายนี้แตกต่างกันไปตามมหาวิทยาลัย โดยอาจเป็นได้ตั้งแต่ประมาณ 100-500 ยูโรต่อภาคการศึกษา (สามารถตรวจสอบได้จากหน้าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ) บางมหาวิทยาลัยก็รวมค่าตั๋วรถสาธารณะที่วิ่งในเมืองที่เรียนและเมืองใกล้เคียงอยู่ในเงินจำนวนนี้แล้วด้วย
โดยทั่วไปแล้ว ทุกมหาวิทยาลัยทุกหลักสูตรในเยอรมนีจะเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา (ซึ่งมักจะไม่แพงมาก) แต่จะมีบางมหาวิทยาลัยหรือบางหลักสูตรเท่านั้นที่เก็บค่าเล่าเรียนเพิ่มเติมจากค่าธรรมเนียมดังกล่าว
ในรัฐ Baden-Württemberg มีการเก็บค่าเล่าเรียน (Studiengebühr) เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนต่างชาติ หรือนักเรียนที่เรียนปริญญาตรีใบที่สอง เป็นจำนวนเงิน 1500 ยูโรต่อภาคการศึกษา นับตั้งแต่ Winter Semester 2017/2018 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ หรือว่าเป็นสถาบันการศึกษาของเอกชน ก็อาจมีการเก็บค่าเล่าเรียน (Tuition fees) เพิ่มเติมจากหลักสูตรหรือสถาบันทั่วไปเช่นกัน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมรวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อย สามารถดูรายละเอียดได้ในส่วนของข้อมูลของแต่ละเมือง หรือเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่จะเข้าศึกษาต่อ
ทุนการศึกษา
ในกรณีที่ต้องการขอทุนการศึกษาสำหรับระดับปริญญาตรีและปริญญาโท การขอทุนการศึกษาควรทำตั้งแต่ก่อนจะเดินทาง เพราะปกติ มหาวิทยาลัยในเยอรมนีจะไม่จัดหาทุนการศึกษาให้นักศึกษาในระดับนี้ และทุนการศึกษาจากหน่วยงานหรือมูลนิธิต่างๆ ในเยอรมนีมักจะจัดสรรให้เฉพาะนักศึกษาที่มีสัญชาติของชาติใน EU เท่านั้น สำหรับระดับปริญญาเอกหรือสูงกว่าในบางสาขาวิชาอาจมีข้อได้เปรียบกว่านักศึกษาในระดับอื่น สถาบันวิจัยที่นักศึกษาสังกัดอาจจ้างนักศึกษาเป็นพนักงานช่วยดูแลกิจการของสถาบัน โดยให้ผลตอบแทนสูงพอสมควรและงานส่วนใหญ่จะอยู่ในสายงานที่นักศึกษาวิจัยอยู่ เช่น เป็นผู้ช่วยสอนหรือเป็นที่ปรึกษางานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท เป็นผู้ดูแลโครงการวิจัยของสถาบัน หรือ เป็นผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ของสถาบัน เป็นต้น ทั้งนี้ หากมีความสนใจ ควรสอบถามทางสถาบันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ตั้งแต่ก่อนเข้าศึกษา
เป็นทุนที่มีข้อผูกมัด ต้องกลับไปรับราชการเป็นเวลาสองเท่าของเวลาที่มาอยู่ในต่างประเทศ มีทุนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปริญญาตรี-โท และทุนระดับปริญญาเอก ทุนรัฐบาลมักมีการกำหนดสาขาวิชาที่ต้องเรียนมาแล้ว ผู้ได้รับทุนจะได้รับเงินค่าใช้จ่ายประจำเดือน, ค่าเล่าเรียน, ค่าประกันสุขภาพ, ค่าอุปกรณ์การเรียน และอื่นๆ รายละเอียดเกี่ยวกับทุนรัฐบาลสามารถเข้าไปดูได้ที่ ทุนสำหรับบุคคลทั่วไป
DAAD (ออกเสียงว่า เด อา อา เด) หรือ Deutscher Akademischer Austauschdienst เป็นองค์กรซึ่งบริการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาต่างชาติ (และนักศึกษาเยอรมัน) ที่ต้องการไปศึกษาต่อ, ฝึกงาน หรือทำงานวิจัยในประเทศเยอรมนี (ในต่างประเทศ) นอกจากนี้ DAAD ยังมอบทุนการศึกษาสำหรับศึกษาต่อ, ทุนสำหรับนักศึกษาปริญญาเอกที่ลงทะเบียนในมหาวิทยาลัยที่เมืองไทยแต่ต้องการไปทำวิจัยในเยอรมนี (Sandwich-System), ทุนสำหรับทำงานวิจัยระยะสั้นและระยะยาว, ทุนสำหรับฝึกงาน, และทุนสนับสนุนคณะนักศึกษาที่ต้องการมาเยี่ยมชมสถานศึกษาหรือเข้าร่วมสัมมนาในประเทศเยอรมนี
ทุน DAAD เป็นทุนซึ่งไม่มีข้อผูกมัด สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ DAAD Information Center 18/1 ซ.เกอร์เธ่ ถ. สาธร 1 กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-2868708-9 เว็บไซต์ DAAD ประเทศไทย
ตัวอย่างทุน DAAD ซึ่งมอบให้กับนักศึกษาไทย เช่น
ทุน DAAD สำหรับหลักสูตร Postgraduate ผู้สมัครต้องเป็นอาจารย์หรือนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยหรือศูนย์วิจัยในประเทศไทย และต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโทด้วยผลการเรียนที่ดี DAAD ให้ทุนเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาเอกและทำงานวิจัยในเยอรมนี เป็นทุนที่ให้ค่าใช้จ่ายประจำเดือน, ค่าเล่าเรียน และอื่นๆ ซึ่งเพียงพอต่อการดำรงชีพในเยอรมนี ระยะเวลาในการให้ทุนคือ 3 ปี ในกรณีพิเศษอาจต่อทุนได้ถึงปีที่ 4
ทุน DAAD แบบ "Sandwich-System“ เป็นทุนสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาเอกในเมืองไทยซึ่งต้องการมาทำงานวิจัยในประเทศเยอรมนี โดยการสอบจบปริญญาเอกจะมีขึ้นที่มหาวิทยาลัยที่ศึกษาในเมืองไทย ผู้สมัครจะต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา (Supervisor) ทั้งจากมหาวิทยาลัยในเมืองไทย และในเยอรมัน ทุนนี้จะให้เฉพาะค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพขณะทำงานวิจัยในเยอรมัน และค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเยอรมนีของอาจารย์ที่ปรึกษาจากเมืองไทย ค่าใช้จ่ายประจำเดือนจะได้เท่ากับทุน DAAD สำหรับหลักสูตร Postgraduate ระยะเวลาในการให้ทุน ตั้งแต่ 1 ถึง 2 ปี
เป็นทุนสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนปริญญาเอก หรือทำวิจัยหลังปริญญาเอก (Post-doctoral fellowship) ตามศูนย์วิจัยในสังกัดของ Helmholtz Gesellschaft ในประเทศเยอรมนี โดยทุนจะให้ค่าใช้จ่ายซึ่งเพียงพอต่อการใช้ชีวิตในประเทศเยอรมนี
นอกจากทุนดังกล่าวแล้ว ยังมีทุนการศึกษาอื่นๆ ซึ่งบางทุนก็มอบเงินสนับสนุนการเรียนให้กับผู้ที่เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในเยอรมนีแล้ว รายชื่อของทุนเหล่านี้อยู่ใน Outgoing Students (เป็นลิงก์จากมหาวิทยาลัยเมืองคาร์ลสรูห์ แต่รายชื่อทุนที่ให้มานั้น ไม่ได้จำกัดว่าต้องเรียนที่มหาวิทยาลัยใด)
หากสนใจเรื่องทุนการศึกษาต่างๆ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือ Studium und Forschung in Deutschland. Foerderungsmoeglichkeiten fuer auslaendische Hochschulangehoerige ซึ่งมีทั้งภาษาเยอรมันและภาษาอังกฤษ สามารถหาอ่านได้ที่ DAAD Information Center กรุงเทพฯ ตามที่อยู่ข้างบน หนังสือได้รวบรวมรายชื่อทุนซึ่งมอบให้กับนักศึกษาต่างชาติไว้ รวมทั้งรายละเอียดการรับสมัคร จำนวนทุน ระยะเวลาการให้ทุน และข้อมูลสำคัญอื่นๆ
อื่นๆ
การศึกษาในสถาบันศึกษาที่ประเทศไทยส่วนใหญ่ เป็นลักษณะเรียนไปตามหลักสูตรแนะนำ ทำให้ผู้เรียนไม่ได้วางแผนหรือจัดการการเรียนการสอบเอง แต่จะเรียนและสอบไปตามที่หลักสูตรกำหนดมาให้แล้ว ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาในเยอรมนี ที่ผู้เรียนจะวางแผนหรือจัดการการเรียนด้วยตัวเองทั้งหมด ว่าภาคการศึกษาใดจะเรียนวิชาอะไรบ้าง หรือ จะเริ่มทำวิทยานิพนธ์เมื่อใด เป็นต้น
ในการจะเริ่มทำวิทยานิพนธ์ เราจะต้องมีหน่วยกิตที่เก็บมาได้ หรือ Credit points ขั้นต่ำตรงตามที่หลักสูตรนั้นๆกำหนดก่อน ถึงจะมีสิทธิสมัครขอทำวิทยานิพนธ์ได้ และสามารถเลือกทำกับสถาบันศึกษาหรือบริษัทเอกชนก็ได้
นอกเหนือจากนี้ วุฒิที่ได้หลังจากเรียนจบปริญญาตรีและโทในเยอรมนี จะขึ้นกับสถาบันอุดมศึกษาที่คุณจบการศึกษา โดยหากเรียนจบจาก Universität ตามหลักการแล้ว คุณจะได้วุฒิ B.Sc., M.Sc., B.A. หรือ M.A. เท่านั้น วุฒิอื่นๆ จะ ออกโดยสถาบันที่ไม่ใช่ Universität เช่น Fachhochschule หรือการสอบ Staatsexamen ตัวอย่างเช่นในกรณีที่คุณศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาตรีที่ Universität คุณจะได้วุฒิ B.Sc. (Bachelor of Science) แต่ถ้าศึกษาใน Fachhochschule คุณจะได้วุฒิ B.Eng. (Bachelor of Engineering) ซึ่งเทียบเท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการศึกษาเพื่อปลายทางแบบไหน ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันอุดมศึกษาในเยอรมนี
ข้อมูลเพิ่มเติม
ถ้าหากข้อมูลในเว็บไซต์นี้ยังไม่สามารถตอบข้อสงสัยของคุณได้ คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากช่องทางต่างๆ เช่น Search Engine ที่คุณชื่นชอบ หรือเว็บไซต์ที่เราแนะนำดังนี้
“Study in Germany – Land of Ideas” เป็นแคมเปญของรัฐบาลเยอรมนีสำหรับผู้สนใจศึกษาต่อทั่วโลก โดยในเว็บไซต์นี้คุณสามารถศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อและใช้ชีวิตในเยอรมนีได้ในทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมตัวเรื่องภาษา การเลือกเมืองเพื่อศึกษาต่อ รวมทั้งประสบการณ์จากนักเรียนจากทั่วโลกที่ศึกษาต่อในเยอรมนี
เว็บไซต์นี้เป็นแพลตฟอร์มของ DAAD โดยผู้สนใจศึกษาต่อสามารถค้นหาหลักสูตรการศึกษาที่สนใจ จากกว่า 20,000 หลักสูตรของสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วเยอรมนี นอกจากนี้คุณสามารถป้อนข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติส่วนตัวของคุณเพื่อตรวจสอบเบื้องต้น โดยระบบจะแจ้งว่าหลักสูตรใดที่คุณมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดการรับเข้าศึกษา ซึ่งจะช่วยจำกัดผลการค้านหาให้แคบลง
DAAD เป็นองค์กรของเยอรมนีซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางวิชาการระหว่างประเทศ นอกจากข้อมูลที่หาได้จากเว็บไซต์และช่องทางต่างๆ แล้ว DAAD ประเทศไทย ยังมีบริการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว ณ ศูนย์ข้อมูลตามที่อยู่และช่องทางการติดต่อด้านล่างนี้ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของ DAAD ประเทศไทย
DAAD ประเทศไทย
Information Centre Bangkok
ที่อยู่: ซอยเกอเธ่ สาทร 1 18/1
10120 กรุงเทพฯ
หมายเลขโทรศัพท์: +662 2868708-9
อีเมล: infodaad.or.th
เฟสบุ๊ก: https://www.facebook.com/DAAD.Thailand
ไลน์ไอดี: @DAADThailand
กลุ่มเฟสบุ๊คของสมาคมนักเรียนไทยในเยอรมนีฯ เป็นที่รวมของนักเรียนนักศึกษาไทยและคนไทยหลากหลายสาขาอาชีพที่อยู่ในประเทศเยอรมนี ผู้ที่สนใจสามารถกดเข้าร่วมและถามคำถามต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนต่อและใช้ชีวิตโดยเฉพาะในส่วนของประสบการณ์ต่างๆ หรือการหาเพื่อนคนไทยในเมืองเดียวกันหรือเมืองใกล้เคียง (ก่อนโพสต์คำถามกรุณาอ่านเงื่อนไขการใช้งานกรุ๊ปก่อน) ในกลุ่มมีสมาชิกที่ยินดีให้ความช่วยเหลือ แต่ทั้งนี้ขอแนะนำให้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นด้วยตัวเองสักเล็กน้อยก่อนที่จะโพสต์ถาม