นอกเหนือจากการเตรียมตัวปกติในการสมัครเรียนในระดับชั้นอื่นๆแล้ว นักศึกษาปริญญาเอกอาจจะต้องใช้เอกสารเพิ่มเติม เช่น invitation letter จาก Professor ด้วย 

ในฐานะนักศึกษาปริญญาเอก จะสามารถเลือกลงทะเบียนในรูปแบบของนักศึกษา (PhD Student) ของมหาวิทยาลัย  หรือลูกจ้าง (Mitarbeiter) ของสถาบันที่ลงทะเบียนทำวิทยานิพนธ์นั้นได้ โดยแต่ละสถานะ จะมีผลประโยชน์แตกต่างกันไป

การทำปริญญาเอก (ภาษาเยอรมันเรียกว่า Promotion) โดยทั่วไปในประเทศเยอรมัน จะถือว่าผู้ทำปริญญาเอก (Doktorand) มีสภาพเป็น PhD Candidate สามารถเลือกจ่ายค่าลงทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ถ้าจ่ายก็จะมีสภาพเป็น PhD Student สามารถใช้สวัสดิการ เช่น Semester Ticket ในรัฐนั้นๆ เป็นต้น ดังนั้นการทำปริญญาเอกจึงไม่ถือเป็นการเรียนในมหาวิทยาลัยอีกต่อไป แต่จะถือว่าเป็นการทำงาน (วิจัย)

ปริญญาเอกที่เยอรมนี

ปริญญาเอกที่เยอรมนีมีลักษณะอย่างไร

การทำปริญญาเอกในเยอรมนีจำเป็นต้องมีปัจจัยดังต่อไปนี้

  • หัวข้อในการทำปริญญาเอก (Promotionsthema)
  • Professor (Doktorvater) หรือ ผู้ที่รับรองให้เราเป็น PhD candidate
  • แหล่งเงินทุน (Finanzierung)
  • ปัจจัยด้านเวลา
  • ปัจจัยด้านภาษา
  • ภาษาที่ใช้ในการเขียน Dissertation โดยปกติจะขึ้นอยู่กับระเบียบเรื่องการใช้ภาษาสำหรับสถาบันศึกษานั้นๆ
Promotionsordnung

เป็นกฏระเบียบ ขั้นตอน คุณสมบัติในการทำปริญญาเอก ที่แต่ละคณะในมหาวิทยาลัยนั้นๆ เป็นผู้ออก ซึ่งเนื้อหาจะแตกต่างกันไปตามสาขาวิชาและมหาวิทยาลัย ดังนั้น ข้อมูลสำคัญที่สุดในการทำปริญญาเอกที่ทุกคนจำเป็นต้องรู้ ตั้งแต่เริ่มที่จะทำปริญญาเอก จนกระทั่งสำเร็จปริญญา จะรวบรวมอยู่ใน Promotionsordnung นี้ แต่จะไม่พูดถึงหลักสูตรในการทำปริญญาเอกแต่อย่างใด ซึ่งหมายความว่าในการทำปริญญาเอก จะไม่มีหลักสูตรบังคับตายตัว แต่จะขึ้นอยู่กับการตกลงร่วมกันระหว่างผู้ทำปริญญาเอก (Doktorand) และ Professor

เนื้อหาใน Promotionsordnung เป็นภาษาเยอรมันในแนวภาษากฏหมาย ซึ่งเข้าใจยาก แต่หากไม่ทำความเข้าใจในรายละเอียดให้ดีแล้ว อาจทำให้พลาดขั้นตอนที่สำคัญได้ ดังนั้น ผู้ที่ทำปริญญาเอกจึงควรทำความเข้าใจในเนื้อหาให้ได้เร็วที่สุด

Interne Promotion

การทำ Promotion แบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ Interne Promotion และ Externe Promotion

Interne Promotion

เป็นตำแหน่งที่มีเงินเดือนจากสถาบันนั้นๆ เปรียบได้กับการทำงานอาชีพหนึ่ง ส่วนมากเป็นการทำปริญญาเอกในสายวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นสาขาวิชาที่ต้องมีการทดลองในห้องแล็ หรือจำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะทางในการทำงาน ปกติจะใช้เวลาเฉลี่ยนานกว่า เนื่องจากต้องทำงานส่วนรวมให้สถาบันด้วย ซึ่งอาจจะเป็นผลดีในแง่ที่ได้ประสบการณ์ในการทำงานจริง

การสมัครจะเหมือนกับการสมัครงานทั่วไป มีข้อดีคือ จะได้ทำงานใกล้ชิดกับ Professor มากกว่า และมีเพื่อนร่วมงานในสาขาเดียวกัน

Externe Promotion

การทำ Promotion แบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ Interne Promotion และ Externe Promotion

Externe Promotion

Professor จะเป็นเหมือนผู้ดูแล หรือให้คำปรึกษาเกี่ยวกับตัวงานเท่านั้น ไม่มีเงินทุน หรือเงินเดือนให้ โดยมากจะเป็นการทำปริญญาเอกในสายศิลป์ เนื่องจากงานเป็นลักษณะอ่านและวิเคราะห์บทความและผลงานวิจัย ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ Doktorand สามารถทำงานนั้นอยู่ที่บ้านก็ได้ ต้องหาหรือมีแหล่งเงินทุนมาด้วยตนเอง มีข้อเสียเปรียบคือ จะทำงานห่างกับ Professor มากกว่า และอาจไม่มีเพื่อนร่วมงานในสาขาเดียวกัน

  • หมายเหตุ ผู้ทำปริญญาเอก อาจไม่มีสิทธิเลือกหรือกำหนดเองว่า ต้องการทำ Intern หรือ Extern ไม่ว่าจะมีเงินทุนมาเองแล้วหรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ Professor หรือข้อกำหนดอื่นๆ ของสถาบัน

การทำปริญญาเอกในเยอรมนี ไม่จำเป็นต้องทำในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่สามารถทำกับสถาบันอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นของรัฐหรือเอกชนก็ได้ เช่น Forschungszentrum, Max-Planck-Institut, Fraunhofer-Institut หรือบริษัท Siemens, Bayer เป็นต้น

ข้อสังเกตเพิ่มเติมในการหา Professor

Intern: กรณีนี้ทางสถาบันจะประกาศรับสมัคร Doktorand เพื่อทำวิจัยตามหัวข้อที่กำหนด และมี Professor ดูแลอยู่แล้ว พร้อมมีเงินเดือนให้ จึงมีการแข่งขันสูง ดังนั้น โอกาสของนักเรียนต่างชาติจึงมีน้อยเมื่อเทียบกับชาวเยอรมัน

Extern: การทำ Extern จะไม่มีการประกาศรับสมัครเหมือนกรณี Intern Doktorand ควรมีหัวข้อที่สนใจไว้ค่อนข้างชัดเจนแล้ว และติดต่อหา Professor ที่มีความเชี่ยวชาญตรงกับหัวข้อนั้นๆ และพร้อมจะดูแลงานให้ สำหรับผู้ที่มีทุนมาจากเมืองไทยแล้ว จะมีโอกาสสูงที่ Professor จะยอมรับดูแลงานให้

ข้อมูลเพิ่มเติม

ค้นหาหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากที่ไหน?

ถ้าหากข้อมูลในเว็บไซต์นี้ยังไม่สามารถตอบข้อสงสัยของคุณได้ คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากช่องทางต่างๆ เช่น Search Engine ที่คุณชื่นชอบ หรือเว็บไซต์ที่เราแนะนำดังนี้

เว็บไซต์ Study in Germany

“Study in Germany – Land of Ideas” เป็นแคมเปญของรัฐบาลเยอรมนีสำหรับผู้สนใจศึกษาต่อทั่วโลก โดยในเว็บไซต์นี้คุณสามารถศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อและใช้ชีวิตในเยอรมนีได้ในทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมตัวเรื่องภาษา การเลือกเมืองเพื่อศึกษาต่อ รวมทั้งประสบการณ์จากนักเรียนจากทั่วโลกที่ศึกษาต่อในเยอรมนี

เว็บไซต์ My GUIDE

เว็บไซต์นี้เป็นแพลตฟอร์มของ DAAD โดยผู้สนใจศึกษาต่อสามารถค้นหาหลักสูตรการศึกษาที่สนใจ จากกว่า 20,000 หลักสูตรของสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วเยอรมนี นอกจากนี้คุณสามารถป้อนข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติส่วนตัวของคุณเพื่อตรวจสอบเบื้องต้น โดยระบบจะแจ้งว่าหลักสูตรใดที่คุณมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดการรับเข้าศึกษา ซึ่งจะช่วยจำกัดผลการค้านหาให้แคบลง

ศูนย์ข้อมูล DAAD ประเทศไทย

DAAD เป็นองค์กรของเยอรมนีซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางวิชาการระหว่างประเทศ นอกจากข้อมูลที่หาได้จากเว็บไซต์และช่องทางต่างๆ แล้ว DAAD ประเทศไทย ยังมีบริการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว ณ ศูนย์ข้อมูลตามที่อยู่และช่องทางการติดต่อด้านล่างนี้ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของ DAAD ประเทศไทย

DAAD ประเทศไทย
Information Centre Bangkok
ที่อยู่: ซอยเกอเธ่ สาทร 1 18/1
10120 กรุงเทพฯ
หมายเลขโทรศัพท์: +662 2868708-9
อีเมล: infodaad.or.th
เฟสบุ๊ก: https://www.facebook.com/DAAD.Thailand
ไลน์ไอดี: @DAADThailand

กลุ่มเฟสบุ๊ค ....

กลุ่มเฟสบุ๊คของสมาคมนักเรียนไทยในเยอรมนีฯ เป็นที่รวมของนักเรียนนักศึกษาไทยและคนไทยหลากหลายสาขาอาชีพที่อยู่ในประเทศเยอรมนี ผู้ที่สนใจสามารถกดเข้าร่วมและถามคำถามต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนต่อและใช้ชีวิตโดยเฉพาะในส่วนของประสบการณ์ต่างๆ หรือการหาเพื่อนคนไทยในเมืองเดียวกันหรือเมืองใกล้เคียง (ก่อนโพสต์คำถามกรุณาอ่านเงื่อนไขการใช้งานกรุ๊ปก่อน) ในกลุ่มมีสมาชิกที่ยินดีให้ความช่วยเหลือ แต่ทั้งนี้ขอแนะนำให้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นด้วยตัวเองสักเล็กน้อยก่อนที่จะโพสต์ถาม

Block
Bachelor Degree
เรียนต่อปริญญาตรี
Master Degree
เรียนต่อปริญญาโท
Doktorand
เรียนต่อปริญญาเอก
Preparation
การเตรียมตัว
Live in Germany
การใช้ชีวิตในเยอรมนี