Person of the Month มกราคม 2561 : ร้อยตรีธัชนนท์ วังศิริไพศาล

คุณเคยสงสัยหรือไม่

ทำไมจึงมีนักเรียนทหารชาวไทยในเยอรมนี ?

พวกเขามาทำอะไรกันที่นี่ ?

จุดประสงค์ที่แท้จริงของการมาศึกษาต่อคืออะไร ?

แล้วพวกเขาต้องเรียนอะไรกันบ้าง ?

พวกเขามีชีวิตต่างกับนักเรียนทั่วไปอย่างไร ?

ไปพบกับคำตอบกันได้ในบทความนี้เลยค่ะ

เกริ่นก่อนว่า ผู้เขียนได้รู้จักกับน้อง ร้อยตรีธัชนนท์ วังศิริไพศาล หรือ ไข่ต้ม ตั้งแต่ยังเรียนภาษาเยอรมันอยู่ที่สถาบันเกอเธ่ที่ไทย เราไม่ได้สนิทกันมากมาย ทราบแค่ข้อมูลคร่าว ๆ เท่านั้นว่าน้องเป็นนักเรียนทหารที่มาเรียนภาษาเพื่อเตรียมตัวไปเรียนต่อที่ประเทศเยอรมนี จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ผู้เขียนได้เจอน้องไข่ต้มอีกครั้งในงาน Talk of the Town no.2 BaWü ที่เมือง Karlsruhe จึงได้มีโอกาสพูดคุยและขอสัมภาษณ์น้องเพื่อเอาเรื่องราวมาแชร์ต่อค่ะ

 

ตอนนี้เรียนอะไรยังไงอยู่ที่ไหนคะ?

เรียนอยู่ที่ Universität der Bundeswehr München หรือมหาวิทยาลัยทหารที่เมืองมิวนิก สาขาเกี่ยวกับเทคนิคทางการบินและอวกาศครับ

 

เป็นทหารอากาศหรอคะ ?

คือจริง ผมเป็นทหารบกแต่ว่ามาเรียนเรื่องนี้ หลายคนที่เป็นทหารบกก็เรียนด้านนี้นะ เพราะว่าที่จริงพอเรียนไปอาจจะไม่ได้เอาไปใช้กับหน่วยตรง หรอก คนที่เรียนแล้วตรงสายที่สุดคือเรียน Pedagogik เรียนด้านการสอน พวกทหารเยอรมันพวกที่จะไปประจำหน่วยจริง เค้าจะพยายามเรียนสอนมากกว่าเพราะมันทำงานกับคนอื่นได้ ไม่ใช่วิศวฯ เพราะมันไม่ตรงกับหน่วยงานจริง แต่นักเรียนไทยมักจะเรียนอย่างอื่นเผื่อตัดสินใจกลับไปทำอย่างอื่นได้ในอนาคต

 

ได้ทุนมาใช่ไหมคะ ? เล่าให้ฟังหน่อย

รู้ตั้งแต่อยู่เตรียมทหารว่าจะมีการสอบชิงทุนให้ไปเรียนต่อต่างประเทศ มาได้รายละเอียดเพิ่มเติมอีกทีตอนเข้าเรียนโรงเรียนนายร้อยแล้วซึ่งปีที่ผมสมัครมีคนสมัครสอบน้อยกว่าทุนอีก ฮ่า ตอนนั้นมีคนสอบ 9 คน ผมได้อันดับที่ 4 โดยแต่ละปีจะมีทั้งหมด 10 ทุนไปตามประเทศต่าง เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส

 

เผื่อมีน้อง นักเรียนทหารคนไหนได้มาอ่านและสนใจนะคะ เกณฑ์การคิดคะแนนสอบแข่งขันชิงทุนการศึกษา

50% เกรดจากโรงเรียนเตรียมทหาร

25% ทดสอบร่างกาย เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ดึงข้อ วิดพื้น ซิตอัพ

25% สอบข้อเขียนวิชาการทั่วไป เช่น ฟิสิกส์ เลข เคมี

 

ทำไมประเทศไทยถึงต้องส่งนักเรียนทหารมาเรียนที่ต่างประเทศ ?

เป็นความร่วมมือทางการทหารครับ ที่ส่งมาไม่ได้แค่มาเรียนอย่างเดียวแต่มาทำความรู้จักกับคนชาติอื่นด้วย การส่งคนไปเรียนต่างประเทศ มีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วที่เคยส่งพระราชโอรสของพระองค์ไป เพื่อนำวิทยาการของต่างชาติกลับมาไทย เมื่อก่อนจะมีการบ่งบอกชัดเจนกว่านี้ว่าส่งไปที่ไหน กลับไปต้องไปทำอะไร แต่อันนี้ส่งมาเชื่อมความสัมพันธ์ ตอนนี้ผมก็ได้ทำความรู้จักกับชาวเยอรมันทั้งที่เป็นทหาร ครูสอนวิชากฎหมายทหาร และทหารจากเหล่าเหล่าทัพอื่น ๆ ซึ่งจะคล้ายกับโรงเรียนเตรียมทหาร ตรงที่มีการให้ทหารทั้ง 3 เหล่าทัพกับตำรวจมาเรียนรวมกันเพื่อให้รู้จักกันไว้

 

คำถามคลาสสิค ทำไมต้องเป็นเยอรมนี ?

ผมเคยเรียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลก แน่นอนว่าต้องมีเรื่องเกี่ยวกับประเทศเยอรนี ผมเลยสงสัยว่าทำไมประเทศเยอรมนีแพ้สงครามโลกทั้งสองครั้ง แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจของโลกได้ เอาจริง ตอนนั้นผลคะแนนออกมาผิดด้วย ประกาศคะแนนแค่ครึ่งหลัง แค่คะแนนสอบข้อเขียนกับเทสต์ร่างกาย ยังไม่ได้เอาเกรดมารวม ผมเลยได้ที่ 1 ฮ่า เขาก็ถามว่าอยากไปที่ไหน ผมก็เลือกเยอรมนี เขาถามว่าทำไม ผมก็ตอบว่าผมไม่โอเคกับประเทศอเมริกา เพราะผมไม่ชอบประเทศที่คนสามารถถือปืนได้ตามสบาย อยากจะถือไปไหนก็ได้ ซื้อปืนที่ไหนก็ได้

 

การเตรียมตัวก่อนมาเยอรมนี

หลังจากฝึกพื้นฐานที่โรงเรียนนายร้อย 2 เดือน พวกพื้นฐานของทหารบก​ (เป็นการฝึกเฉพาะเหล่าเลย สมัยที่เรียนเตรียมทหารจะเป็นการฝึกกว้าง เพราะรวมกับเหล่าอื่น) ก็ไปสอบคัดเลือก พอได้รับผลสอบแล้วก็ไปเรียนภาษาที่สถาบันเกอเธ่ที่ไทย 3 เดือนทุกเช้า เรียนพวกแกรมม่า และเรียนเน้นพูดที่แบร์ลิทซ์ตอนช่วงบ่าย แต่ก็ยังไม่พอ พอมาถึงเยอรมันก็ยังฟังไม่รู้เรื่องอยู่ดี ขนาดเสียงประกาศของรถไฟยังฟังไม่ค่อยรู้เรื่องเลยครับ

 

ถ้าอย่างนั้นพอมาถึงเยอรมนีแล้วเริ่มเรียนอะไรยังไงก่อน

มาถึงผมเลยต้องเรียนภาษาอีก 9 เดือนอยู่เมือง Hürth แถว Köln เรียนภาษาวันละ 8 ชม ยกเว้นวันศุกร์ที่เรียนแค่ช่วงเช้า จะมีการสอบย่อยทุก สามเดือนที่ต้องสอบให้ผ่าน ผมไม่ได้สอบ A1 A2 เหมือนคนอื่น แต่ต้องสอบ SLP แทน ซึ่งน่าจะอยู่ที่ระดับประมาณ B1

ส่วนทางทหาร เริ่มเรียนตอนแรกที่ AGA ย่อมาจาก Allgemeine Grundausbildung (German Army basic military training) เหมือนเป็นการฝึกทหารที่ไทย การฝึกบุคคลมือเปล่า ถ้าของที่ไทยมันจะฝึกสวนสนาม แต่ของเยอรมันจะเน้นเรื่องฝึกให้ใช้อาวุธเป็น ฝึกหมอบเข้าที่กำบัง เป็นทักษะทางการรบซะส่วนใหญ่ คิดดูหน้าหนาวต้องไปฝึกในป่า ไม่มีเครื่องทำความอุ่น ต้องขุดหลุมฝึก อากาศอุณหภูมิประมาณ 3 องศา กลางคืนก็ติดลบ มีชุดที่อุ่นนะแต่ก็เอาไม่อยู่หรอก ยิ่งรุ่งเช้าต้นไม้คายน้ำอีกยิ่งหนาวง่าย บางทีจุดไฟก็ไม่ได้ด้วย เพราะต้องหลบการตรวจตราของทหารฝ่ายตรงข้าม (ตอนกลางคืนในป่านี่ จุดบุหรี่ยังเห็นได้ไกลเป็นกิโล ๆ เลยครับ) การฝึกของเยอรมันจะมีการจำลองสถานการณ์ตลอดเวลา ว่ามีศัตรูอยู่ตรงนี้ เราต้องทำแบบนี้ เพื่อให้เราเข้าใจสถานการณ์ เค้าจะให้เราคิดเองมากกว่าเพราะแต่ละคนต้องนำหน่วยบ้าง ว่าเหตุการณ์เป็นแบบนี้ เราต้องทำยังไง เค้าจะทำตัวอย่างให้ดูก่อน ต้องลองดูพื้นที่ว่าเราต้องป้องกันตรงไหนยังไง

 

AGA เรียนอะไรอย่างอื่นอีกมั้ย ?

นายทหารนักเรียนสัญญาบัตรเยอรมันทุกคนจะต้องเริ่มที่ AGA หมด โดยใช้ระยะเวลาในการฝึกรวมทั้งสิ้น 6 เดือน โดยที่ 3 เดือนหลังจะเป็นฝึกพิเศษเพื่อเพิ่มทักษาะในการยิงปืน โดยช่วงแรกจะยิง P8 (Pistol8) G36 (Gewehr36) แต่ช่วง 3 เดือนหลังจะได้ยิงปืนกล (Machine gun) ต่อต้านรถถัง นอกจากนี้ใน AGA จะมีวิชาเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของเยอรมัน กฎหมายทางการทหาร เพราะว่าระบบทหารของทางเยอรมันต่อให้เราเป็นนายก็สั่งได้ไม่หมดทุกอย่าง ถ้าเรายศต่ำกว่ามันมียังกฎที่บางเรื่องที่คนยศสูงกว่าสั่งมา เราเลือกไม่ทำตามก็ได้ เพราะถ้ามันผิดกฎหมายแล้วเราทำจะถือว่าผิดทั้งคู่ โดนโทษเดียวกัน

หลังจากนั้นผมย้ายไปอยู่เดรสเดน ไปเรียนโรงเรียนนายร้อยของเยอรมัน เรียนประวัติศาสตร์ทางการทหารเยอรมัน ซึ่งมันไม่ใช่วิชาประวัติศาสตร์สามัญทั่วไป แต่จะเจาะลึกไปทางการทหาร

 

 

นานเลยสินะกว่าจะได้เข้าเรียนจริง

เรียนภาษา 6 เดือน

ฝึก AGA 6 เดือน

โรงเรียนนายร้อย Dresden 9 เดือน

ระหว่างที่เรียนในมหาวิทยาลัย 4 ปี การฝึกทหารจะมีน้อย มีแค่ 8-9 ครั้งต่อปี แต่จะมีการฝึกแบบจริงจังอีก 7 เดือนหลังจากเรียนจบ โดยการฝึกของ AGA นั้นจะเป็นการฝึกป้องกันฐานเพียงอย่างเดียว แต่การฝึกอันหลังคือการฝึกเข้าโจมตี เริ่มฝึกพื้นที่ที่เป็นตึกรามบ้านช่องไม่ใช่แค่ในป่า

นอกจากนี้หลังจากครบ 7 เดือนก็จะมีการฝึกอันสุดท้ายโดยนำความรู้ทั้งหมดที่เคยเรียนมาใช้ ซึ่งจะมีการฝึกทั้งการโจมตีและตั้งรับในเมือง รวม แล้วใช้เวลาประมาณอาทิตย์นึง 3 วันแรกเรียนในร่มตามปกติ อีก 3 วันฝึกภาคสนาม จะเป็นภารกิจ 72 ชั่วโมง เดินไปประมาณ 70 กิโลเมตร พร้อมแบกเป้ 100 ลิตรใบใหญ่หนักประมาณ 20-30 กิโลกรัม จำได้ว่าไม่ค่อยได้นอน ได้นอนรวม ไม่ถึง 10 ชั่วโมง ไม่ได้อาบน้ำเลยตลอด 3 วัน วันสุดท้ายของการฝึกก็จะเก็บของ ทำความสะอาดปืน มันเหมือนกีฬาเตรียมอุดมเตรียมทหาร มีการสลับฝึกที่ประเทศเยอรมันบ้าง ไปฝึกที่ฝรั่งเศสบ้าง ซึ่งปีนั้นผมโชคดีได้ไปฝึกที่ฝรั่งเศสเพราะเขามีการใช้ปืนอีกแบบด้วย

หลังจากฝึกผมก็ได้เข้าเรียนคอลเลจ 1 ปี เหมือนพลเรือนทั่วไป หลังจากนั้นก็เข้ามหาวิทยาลัย ปัจจุบันนี้เรียนอยู่เทอมแรก มหาวิทยาลัยจะมีเรียนสามเทอมต่อปี มันทำให้จบเร็วขึ้นเพราะถือว่าเราไม่ต้องไปทำงานข้างนอก พักอยู่ในแคมปัสเลย การเรียนค่อนข้าง intensiv เอาวิชา 4 ปีมาอัดให้เหลือแค่ภายใน 2 ปี 5 เดือน ก็คือจะมีเรียนต่อวันเยอะขึ้น จำนวนวิชาเยอะขึ้น

แต่ก็ยังมีเวลาว่างเพราะมีที่พักอยู่ในตัวมหาวิทยาลัยเลย ไม่เสียเวลาเดินทาง มีรายได้ ทำให้ไม่ต้องทำงานพิเศษ จะมีการฝึกทหารทุกวันพุธตอนบ่าย ทหารที่เยอรมันบังคับต้องมีการยิงปืนปีละครั้ง ต้องตรวจสภาพร่างกาย ฝึกการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การขนย้ายผู้บาดเจ็บ มีการฝึกการป้องกันรังสี อาวุธชีวภาพ เคมี ใส่หน้ากากเข้าไปห้องรมแก๊สน้ำตา แล้วมีบังคับถอดหน้ากากด้วย

 

โอ้โห แล้วตอนโดนแก๊สน้ำตารู้สึกยังไง?

คือเวลาโดนมันไม่ได้แค่น้ำตาไหลนะ แต่ผิวมันแสบไปหมดเลย แต่ถ้าถามว่าอันตรายมั้ย เขาว่ากันว่ามันไม่อันตรายมากยกเว้นว่าจะแพ้จริง

 

การเรียนในเยอรมนีเป็นอย่างไรบ้าง?

เข้าไปตอนแรกก็ช็อคเพราะฟังไม่รู้เรื่องเลย พอเข้าไปถึงได้รู้ว่าครูที่โรงเรียนภาษาพูดช้า พูดชัด พยายามให้เรารู้เรื่อง ไม่มีสำเนียงอะไรเลย แต่พอไปเจอชีวิตจริง เหมือนหนังชีวิต พูดสำเนียงบาเยิร์นใส่เลย บอริช พูดเร็วมาก คำศัพท์ที่ใช้ก็เป็นคำศัพท์เฉพาะ คำสั่งทางการทหาร ฟังไม่เข้าใจจนต้องไปขอให้เพื่อนเยอรมันอธิบายอีกที ตอนเข้าไป AGA เป็นห้องนอน 4 คน เพื่อนทุกคนโอเคหมด เพื่อนดี ช่วยเยอะมาก สนิทกันจนเคยไปเที่ยวบ้าน

ได้ภาษาจริง เพราะเพื่อน   ช่วยแปลเยอรมันเป็นเยอรมันอีกทีนั่นแหละ เลยได้เรียนเยอรมันที่ได้ใช้จริง ไม่ใช่แค่ในห้องเรียน มันทำให้เราต้องเร่งตัวเองตลอดว่าต้องเข้าใจนะ ที่ช่วยเยอะมากก็คือหาเพื่อน ซึ่งก็เป็นจุดประสงค์หลักที่ทางไทยส่งเรามาคือหาคอนเนคชั่น มันคือการ integrate ปรับตัวเข้าหา บางทีคนเยอรมันอาจจะตรง ๆ บ้าง แต่ผมชอบนิสัยคนเยอรมัน ต้องเรียนรู้ไปเรื่อย บางทีคุยกับคนเยอรมันรู้เรื่องกว่าคนไทย แล้วเพื่อนที่มาก็มาจากทั่วประเทศ ก็ได้รู้จักประเทศมากขึ้นอีกด้วย

เพื่อนคนเยอรมันติดล้อเรา ชอบล้อเราเรื่อง ladyboy แล้วพอดีมีคนเอาหนัง Hangover 2 มาให้ดู เลยรู้ว่าคืออะไร เพื่อนถามกันใหญ่ว่ามีจริงมั้ย ถามกันทุกคน ฮ่า

ต้องมีฝึกงานไหมคะ ?

ผมได้ไปฝึกเป็นผู้ช่วยครูฝึก ถือเป็นการทำ Pratikum เหมือนเราได้ดูว่าพวกครูฝึกต้องเตรียมตัวยังไงเวลาต้องไปฝึกทหาร เราจะเห็นเขาต้องมานั่งประชุมกันแต่เช้า 6-7โมง วางแผนว่าจะฝึกที่ไหน ต้องการเครื่องมืออะไรบ้าง กระสุนจำนวนเท่าไหร่ เขียนคำขอเบิก ก็ได้ทำงานหลายอย่างดี และได้รู้ว่าถ้าไม่รู้อะไรต้องถามจริง คนเยอรมันบอกว่ามันไม่มีคำถามที่โง่ มีแต่คำตอบที่โง่ คนเยอรมันเขาไม่รำคาญหรอก ต่อให้อารมณ์ไม่ดีเขาก็แยกแยะได้

พอไปฝึกจริง ก็จะรู้ว่าเยอรมันให้อิสระกับผู้ฝึก และตอนใกล้จบการฝึก ต้องทำการฝึกเองหนึ่งอัน คือปกติเราไปช่วยเขาอย่างเดียว ช่วยเขียนนั่นนี่ แต่ถ้าตอนจบการไปฝึกงาน ต้องวางแผนการฝึกตั้งแต่ต้นเอง ครูฝึกจะไม่ช่วยเลย ทำได้แค่ถาม แล้วเราต้องไปฝึกจริงด้วย แต่มันจะเป็นเรื่องง่าย ตอนนั้นผมได้ทำเรื่องการพราง เราก็ต้องไปคิดเองว่าจะใช้พื้นที่ตรงไหน ต้องการอุปกรณ์อะไรบ้าง เขาจะมีบล็อควางแผนการฝึก เราก็ต้องเขียนออกมา

 

Routine ชีวิตแตกต่างกัน?

ก็คล้าย กัน ตอนฝึกที่เยอรมันต้องตื่นตอน 5.45 . แต่ไทย 5.15 . มันจะมี Ausbilder มาตะโกนปลุกตอนเช้า บางทีก็มีเป็นแตรปลุกคล้าย ที่ไทย พอปลุกเสร็จเขาก็จะมาเปิดไฟปลุกทุกห้อง แล้วก็รวมแถวในอีก 5 นาที แต่ถ้าในมหาวิทยาลัยก็จะมีอิสระ รับผิดชอบตัวเองให้ดีเหมือนกับมหาวิทยาลัยทั่วไป

การฝึกทุกวันพุธบ่ายต้องไปลงชื่อเอง รับผิดชอบตัวเอง เขาจะมีบอกเลยว่าวันที่เท่าไหร่จะมีการฝึกอะไร ให้ลงชื่อได้ ปลายปีเราจะโดนเช็คว่าฝึกครบทุกอย่าง ซึ่งจะมีกำหนดมาไว้แล้วว่าต่อปีต้องฝึกอะไรเท่าไหร่บ้าง

 

คิดว่าตั้งแต่มาเยอรมัน คิดว่าฝึกครั้งไหนโหดสุด ?

ส่วนใหญ่ก็จะเป็นฝึกครั้งสุดท้ายตอนใกล้จบการฝึกยาว เพราะมันจะเอาที่เรียนตลอดหลายเดือนมาฝึกรวมกัน อันที่ไปฝึกที่ AGA 2 วัน ฝรั่งเศสอีก 3 วัน นอนน้อยมาก ทุกคนต้องกระจายไปนอนกันไป 360 องศา นั่งยามต้นไม้บ้าง บางทีเราสัปหงกอยู่ก็เกิดเสียงดังตึ้ง ตกใจหันไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นปรากฎว่ามีคนหลับในล้มลงไป ตอนนั้นอ่ะมันไม่ตลกเลยเพราะมันเหนื่อยมาก แต่พอผ่านมาตอนเย็นนั่งกินเบียร์กันก็รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องตลก

บางคนเบลอเดินรองเท้าคอมแบทหลุดไม่รู้เรื่อง ผ่านไป 10-15 นาทีค่อยรู้ตัวว่ารองเท้าหาย เดินในป่าตอนกลางคืน หาไม่เจอด้วย บางทีเดินเยอะมากจนชาไปเลย เขาเรียกยางแตก พอดื่มน้ำเยอะทำให้มันลงเท้าแตก แต่อันนี้คือชาไปเลยเพราะอากาศเย็นด้วย เวลาอยู่ข้างนอกนาน คอมแบทที่หนาก็ยังเอาไม่อยู่ บางทีเดินขึ้นเนินชัน 60 องศา บางคนล้มกลิ้ง คนข้างหลังต้องช่วยกัน มีเจ็บบ้างเล็กน้อยแต่ก็พอรับได้ ถ้าใครไม่ผ่านการฝึกต้องเริ่มใหม่หมด  ต้องไปนั่งฟัง 6 เดือน ฮ่า

 

เยอรมนีมีบทลงโทษทางการทหารแบบที่ไทยไหม ?

ฝึกที่เยอรมันไม่มีบทลงโทษเหมือนที่ไทย จะไม่มีการลงโทษโดยตรง แต่จะลงโทษโดยการพาไปวิ่ง วิ่งไปพร้อมแบกเป้หนัก 13-14 กิโลกรัม วิ่งปกติก็ต้องทำอยู่แล้ว แต่บางทีเขาก็อาจจะสั่งเพิ่ม แต่คนสั่งเองก็ต้องวิ่งไปด้วย เยอรมันจะไม่ค่อยมีสั่งลงโทษ แต่ว่ามีตัดเงินเดือน จำขัง มีการลดยศเลย ที่นี่ทำผิดแล้วโดนลดยศง่ายมาก มีการโดนพักงาน โดนไล่ออกก็ง่าย ไม่มีสงสาร มาสายก็จะโดนเรียกไปคุย โดนหักเงิน ไม่มีการซ่อมแบบที่ไทยเท่าไหร่ แต่จะใช้วิธีการแนวนี้มากกว่า

ถ้าทหารเยอรมันถ้าทำผิดเกี่ยวกับรถยนต์ จะโดนโทษซ้อนทั้งทางวินัยและทางทหาร ที่เยอรมนีไม่มีศาลทหาร ทหารหากทำผิดต้องขึ้นศาลพลเรือน เพราะทหารเยอรมันถือว่าเป็นพลเรือนในเครื่องแบบ เป็นสามัญชนที่ถืออาวุธ ทำให้ทหารเยอรมันมีความรับผิดชอบมากขึ้นเพราะเป็นพลเมืองตัวอย่าง หากเจอคำสั่งแล้วไม่ทำตามจะโดนโทษหนัก

ปัจจุบันกองทัพเยอรมันรับสมัคร Mitarbeiter เพิ่มขึ้น มีการพยายามทำกองทัพให้น่าสนใจ หลัง เลยมีโฆษณามากขึ้น กฎระเบียบถูกทำให้ซอฟต์ลง กองทหารเยอรมันเป็นกองทัพที่โดนอิทธิพลทางการเมืองค่อนข้างมาก เพราะคนที่คุมอีกทีเป็นพลเรือนธรรมดา กองทัพต้องทำตามสิ่งที่การเมืองสนใจ การเมืองบอกต้องไปช่วยที่ไหนก็ต้องไป

 

ระบบรุ่นพี่รุ่นน้องนักเรียนทหารไทยในเยอรมนี?

ปัจจุบันรุ่นพี่รุ่น 53 มีหน้าที่จัดการงานบริหารต่าง เช่นงานสถานทูต หรืองานที่จัดในมิวนิคแล้วต้องการนักเรียนทหารไปร่วมงาน แบ่งหน้าที่กันไป สั่งงานรุ่นน้องอีกที รุ่นที่ทำงานบริหารนี้จะมีชื่อเรียกว่ารุ่นบริหารรุ่นพี่อาวุโสหรือรุ่นพี่ที่ปีสูงขึ้นไปก็จะคอยดู ส่วนใหญ่เขาก็จะให้ไปช่วยจัดโต๊ะ กองกำลังชายล้วน กองกำลังขนของ ก็สนุกดี รุ่นพี่ก็ดีมากเลยครับ

 

พกสมุดจด

ที่ไทยสอนให้พกสมุดจด ที่นี่ก็เหมือนกัน บางทีเราได้รับคำสั่งมาก็ให้เราจดไว้เลย บางทีก็มีการเข้ารหัสบ้าง การคุยผ่านวิทยุ เราจะไม่บอกพิกัดกัน เผื่อถ้าศัตรูดักฟังก็สามารถยิงปืนใหญ่มาเลย เลยใช้วิธีบอกรหัสแทน มีต้องเรียนเรื่องรหัส มีตารางแล้วเราต้องไปนั่งถอดรหัสอีก ก็สนุกดี

 

กลับไทยไปต้องทำอะไร ?

กลับไปต้องรับราชการ มีแค่กำหนดไว้ว่าต้องกลับไปใช้ทุน 10 ปี คงกลับไปทำเรื่องเทคนิค อาจจะต้องไปเป็นผู้บังคับหมวดก่อน ผมไม่ได้เน้นเรื่องการทำทหาร แต่ผมอยากกลับไปทำทางเทคนิคในกองทัพ คือมีการทำวิจัยเรื่องของอาวุธ การตรวจค้นโดรน ทำได้หลากหลาย มีการโคกับส่วนอื่น เรื่องฝน เครื่องบินไหนกระจายฝนได้มาก เป็นต้น มีโครงการเยอะ กองทัพไทยมันกว้างมาก แต่ส่วนตัวไม่ค่อยคิดเข้าไปยุ่งเรื่องการปกครองมาก

 

ตอนนี้อยู่เยอรมันมา ปีแล้ว มองตัวเองตอนนี้เติบโตขึ้นยังไงบ้าง ?

รู้อะไรมากขึ้น ตอนอยู่เตรียมทหารจะไม่ค่อยคบคนอื่น ตอนนี้ก็พยายามเข้าหาคนอื่นให้มากขึ้น มันถือเป็นสกิลอย่างนึง เมื่อก่อนจะอยู่เงียบ ไม่กล้าเปิดประเด็นคุย พอมาเยอรมันมันทำให้เราเรียนรู้ที่จะออกจาก comfort zone เอกสารอะไรต่าง เราต้องจัดการเองหมด ผมไปฝึกงานอยู่บริษัททำเหล็ก มันก็มีคนช่วยบ้างแหละ แต่เราต้องเป๊ะ มีนัดวัน เวลา คุยงาน ไปเขียนสัญญาเอง ทำ Bewerbung เอง

 

ความประทับใจ

ที่ไทยจะบอกเลยว่าเราต้องทำอะไร ต้องทำแบบนี้ อย่างนี้ ที่อเมริกาก็เป็นแบบเดียวกับที่ไทย คือเป็นระบบคำสั่ง แต่ของเยอรมนีจะเป็นระบบภารกิจ ให้ภารกิจมาซึ่งเราเคยเรียนมาแล้ว พอเราได้ภารกิจมาเราสามารถจัดการกับภารกิจได้เอง ที่ไทยจะสั่งให้ทำอย่างนี้ ด้วยวิธีนี้ ของเยอรมันจะบอกแค่ให้ทำอันนี้ แต่จะทำยังไงก็แล้วแต่คุณ คุณเรียนมาแล้ว เขาให้อิสระมากกว่า มันมีข้อดีข้อเสียของแต่ละอันแหละ เขาจุกจิกน้อยกว่า แต่ก็ยังคอนโทรล คอยตรวจเช็คอยู่ ถึงจะไม่ได้มายุ่งมาก ถ้าอะไรออกนอกกรอบก็ค่อยไปแก้

คนเยอรมันจริง ก็ไม่ได้เคร่งเครียดนะ ออกจะติดฮาด้วยซ้ำ แต่เขาจริงจังเวลาทำงาน มีเพื่อนที่เฮฮามากตอนช่วงไปฝึกทหารด้วยกัน แต่ตอนทำงานก็กลายเป็นคนจริงจังมาก แต่ก็ไม่ถึงขั้นเครื่องจักรนะ

 


 

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนต้องขอขอบคุณน้องไข่ต้มสำหรับข้อมูลน่าสนใจที่ช่วยทำให้พวกเรานักเรียนไทยในประเทศเยอรมนีทุกคนได้รู้จักและเข้าใจกันมากขึ้น และขอบคุณน้องไบร้ทที่มาช่วยกันสัมภาษณ์นะคะ

สำหรับเดือนถัดไป Person of the Month จะเป็นใคร อย่าลืมติดตามกัน

สามารถติดตามข่าวสารกิจกรรม และคอนเทนต์ต่าง ๆ ของส.น.ท.ย.ได้ที่ เพจของทางสมาคมฯ และ เฟสบุ๊คของสมาคมฯ เลยค่ะ