Person of the Month ธันวาคม 2560 : นิธิ รุ่งธนาภิรมย์

สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน เวลาหมุนผ่านไปแล้วครึ่งภาคเรียนฤดูหนาวของประเทศเยอรมนี เข้าสู่เดือนธันวาคม เดือนสุดท้ายของปี พ.ศ. 2560 ในโอกาสนี้ผู้เขียนขอนำเสนอเรื่องราวของนักเรียนไทยคนหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นนักเรียนตัวอย่างที่ดีให้กับน้อง ๆ หลาย ๆ คน รวมถึงตัวผู้เขียนเองด้วย

นายนิธิ รุ่งธนาภิรมย์ หรือ พี่บิ๊ก นักวิจัยหลังปริญญาเอก (Postdoctoral fellow) สาขาคณิตศาสตร์ ณ Institut für Mathematik, Goethe-Universität Frankfurt ที่พวกเราหลาย ๆ คนอาจจะรู้จักกันดีในฐานะอดีตนายกสมาคมนักเรียนไทยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ผู้เขียนเองก็ได้มีโอกาสทำความรู้จักกับพี่บิ๊กมาสักพักใหญ่ และอยากรู้มานานแล้วว่าพี่บิ๊กมีที่มาที่ไปอย่างไร มีความคิดความอ่านแบบไหนกันแน่นะ ถึงได้ประสบความสำเร็จขนาดนี้ รวมถึงประสบการณ์การเห็นความเปลี่ยนแปลงของประเทศเยอรมนีตลอดเวลาหลายปีที่อาศัยอยู่ เอาเป็นว่า ไปติดตามกันได้เลยค่ะ

 

แน่นอนคำถามแรก ที่ตัวผู้เขียนมักสงสัยในตัวทุกคนที่มาเรียนที่นี่ ก็คือไปยังไงมายังไงถึงได้มาอยู่ที่เยอรมนีได้

พี่ได้ทุนรัฐบาลมาครับ ทุนโอลิมปิก พี่อยากเรียนคณิตศาสตร์อยู่แล้วก็เลยรับทุนนี้มา” เดี๋ยวนะคะ ทุนโอลิมปิก แปลว่าพี่ต้องเคยชนะการแข่งขันโอลิมปิกใช่มั้ยคะ ?  ใช่ครับ ได้เหรียญเงิน 1 เหรียญ เหรียญทองแดงอีก 2 เหรียญครับ” ฟังแค่นี้ก็รู้สึกอึ้งแล้ว นี่เรากำลังนั่งคุยอยู่กับคนที่เก่งคณิตศาสตร์ระดับโลกเลยนะ (เป็นวิชาที่ผู้เขียนเองอ่อนที่สุดแต่ไหนแต่ไร)

 

ตอนนั้นเลือกประเทศที่อยากจะไปเรียนต่อเองได้ ทำไมถึงต้องเป็นเยอรมนี ?

เดาไว้แล้วว่าต้องถามคำถามนี้ Warum nicht? ฮ่า พี่อยากมาดูชีวิตความเป็นอยู่ของคนในยุโรป การมาเรียนต่อที่ประเทศนี้ก็เป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้เราได้เรียนภาษาเพิ่ม ลองนึกดู เวลานึกถึงเทคโนโลยีที่ดีที่สุด ใหม่ที่สุดในยุโรป คนก็จะนึกถึงประเทศเยอรมนี

นอกจากนั้นแล้ว พี่บิ๊กยังมีมุมมองความคิดที่แตกต่างออกไปจากคนอื่น ถึงแม้คนส่วนใหญ่ที่ได้ทุนมักจะเลือกไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษหรือสหรัฐอเมริกา เพราะไม่จำเป็นต้องเรียนภาษาที่ 3 แต่พี่บิ๊กกลับมองในระยะยาว เมื่อถึงเวลาที่ต้องกลับไปทำงานที่ไทย หากจะกลับไปพัฒนาประเทศก็ควรจะมีคนที่มีความรู้และประสบการณ์จากหลาย ที่ จึงเป็นสาเหตุให้พี่บิ๊กตัดสินใจเลือกเส้นทางที่อาจเรียกได้ว่ายากกว่าคนอื่น ๆ หลายคน

 

 

สำหรับหลาย คน รวมถึงตัวผู้เขียนเอง เคยวาดภาพประเทศเยอรมนีไว้ต่าง นานา พี่บิ๊กเองก็เช่นกัน ที่เคยวาดภาพประเทศเยอรมนีที่เป็นอุดมคติเกินไป ด้วยความที่ยังเด็กจึงคิดว่าหลาย อย่างในประเทศเยอรมนีจะต้องดี 100% มันก็มีหลาย อย่างที่เหมือนที่คิดไว้ และอีกหลายอย่างที่เราเคยวาดภาพไว้ว่ามันดีกว่านี้ คิดว่าเป็นประเทศที่น่าอยู่ เช่น เคยคิดว่าถนนของประเทศนี้จะสะอาด 100% แต่จริง มันก็ไม่ได้ขนาดนั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันไม่ดี เอาจริง ก็อาจจะแค่ 90% ฮ่า

แล้วคนเยอรมันล่ะ ?

ส่วนใหญ่ในคณะพี่จะไม่ค่อยมีคนเอเชีย ทำให้พี่ค่อนข้างสนิทกับคนเยอรมัน แต่เอาจริง ก็ไม่แน่ใจว่าที่เห็นเป็นฝรั่งใช่คนเยอรมันจริงรึเปล่า ฮ่า   ผู้เขียนจึงถามต่อว่าคนเยอรมันเข้าถึงยากหรือไม่ มีทริคอย่างไรในการจะทำความรู้จักสนิทกับคนเยอรมันมีทั้งยากและง่าย หลัก เลยต้องหาโอกาสเข้าไปคุย พยายามชวนคุย หาหัวข้อมา คนเยอรมันชอบคนที่เปิดใจเข้าหา” ฟังอย่างนี้แล้ว ผู้เขียนคงต้องลองเอาวิธีนี้ไปใช้บ้างสินะ

 

มาถึงประสบการณ์การอยู่อาศัยในประเทศเยอรมนีมาตลอด 12 ปีของพี่บิ๊ก ทำให้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ของประเทศที่เคยเป็นประเทศในอุดมคติไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเป็นระเบียบ ความสะอาด หรือแม้แต่ค่าครองชีพ โดยเฉพาะค่าตั๋วรถไฟที่พอได้ยินราคาแล้ว เล่นเอาผู้เขียนแทบช็อค 

รู้มั้ยว่าตั๋วรถไฟรัฐ Baden-Württemberg สำหรับ 5 คนตอนพี่มาเยอรมนีปีแรกราคาเท่าไหร่ ?” เท่าไหร่หรอคะ ? “23 ยูโรเองนะ” อะไรกัน สมัยนี้ 23 ยูโรคือราคาสำหรับ 1 คนเท่านั้น ปัจจุบันตั๋วสำหรับ 5 คนอยู่ที่ราคา 43 ยูโรเลยทีเดียว !!

แต่ในขณะเดียวกัน ค่าครองชีพบางส่วนของเยอรมนีกลับไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงมากนัก เช่น ค่าโทรศัพท์รายเดือนที่พี่บิ๊กบอกว่าเหมือนจะราคาลดลงด้วยซ้ำ หรือจริง แล้วอาจจะราคาเท่าเดิมแต่ได้รับบริการมากขึ้น แต่ก็ไม่แน่ใจว่าควรจะเรียกว่าได้เยอะขึ้นจริง มั้ย อาจจะได้ data อินเตอร์เน็ตต่อเดือนเยอะขึ้นจริง แต่ไฟล์ที่ต้องโหลดก็ใหญ่ขึ้นด้วยเช่นกัน

 

 

นอกจากนี้ พี่บิ๊กยังมีโอกาสได้เป็นอาจารย์ช่วยสอนที่มหาวิทยาลัย ทำให้พี่บิ๊กได้เห็นถึงการเรียนการสอนในปัจจุบันของประเทศเยอรมนี หากแต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาที่พี่บิ๊กเพิ่งมาถึงเยอรมนีเมื่อ 12 ปีที่แล้วนั้น คุณภาพของการศึกษาได้เปลี่ยนไปอย่างมาก พี่ไม่แน่ใจว่าพี่โตขึ้นหรือว่าคุณภาพนักศึกษาแย่ลงจริง ได้ยินมาจากเพื่อนว่าคุณภาพโดยรวมก็ถดถอยลง ปริมาณเนื้อหาที่เรียนน้อยลง เรื่องบางเรื่องที่เรียนในโรงเรียนเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว” ผู้เขียนมักจะได้ยินเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ บ่นกันอยู่เสมอว่าเนื้อหาที่เรียนอยู่ตอนนี้ยากมาก นึกภาพไม่ออกเลยว่าสมัยก่อนจะยากขนาดไหนกันนะ

สังคมออนไลน์ของนักเรียนในเยอรมนีเองก็เปลี่ยนไปเช่นกัน สมัยก่อนมีสิ่งหนึ่งที่ฮิตมาก คือ studiVZ มันคล้าย เฟสบุ๊คหรือ hi5 สำหรับนักศึกษาเยอรมัน ฟังค์ชั่นไม่เยอะเท่าเฟสบุ๊ค แต่มันเคยเป็น social network หลักของนักศึกษาเยอรมัน แต่พอมีเฟสบุ๊คแล้วเค้าก็คงค่อย เลิกใช้กัน

ว่าแต่ มีผู้อ่านท่านใดรู้จัก studiVZ หรือไม่​ ?

 

หนึ่งในความเปลี่ยงแปลงของเยอรมนีในรอบหลายปีที่ผ่านมาที่น่าสนใจที่สุดอีกเรื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่องของการเมือง ที่หากผู้อ่านได้ติดตามข่าวสารด้านนี้ จะเห็นได้ว่าคนเยอรมันมีความคิดที่แตกต่างกันมากขึ้น มันมีเรื่องของผู้อพยพเมื่อ 2 ปีที่แล้ว พี่มองว่ามันมีผลกระทบต่อการเมืองมาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีคนเยอรมันเริ่มเป็นห่วงตัวเองมากขึ้น พี่ไม่ได้จะบอกว่าพี่เห็นด้วยกับพรรคขวาจัด (AfD) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาทำไม่ถูก แต่ก็ไม่ได้คิดว่านโยบายของเขาจะถูกไปหมด แต่ก็เข้าใจได้ว่าทำไมมีคนที่คิดและสนับสนุนคนที่คิดแบบนั้น

 

 

แน่นอนว่าถ้าพูดถึงพี่บิ๊ก จะไม่พูดถึงเรื่องนี้ไม่ได้เลย

พี่บิ๊ก อดีตนายกสมาคมฯ 2 สมัย รวมถึงได้มีประสบการณ์การทำงานตำแหน่งต่าง ในสมาคมฯ มาหลายยุคหลายสมัย ปัจจุบันถึงแม้พี่บิ๊กจะไม่ได้รับตำแหน่งคณะกรรมการแล้วแต่พี่บิ๊กยังคงเป็นกรรมการที่ปรึกษาให้กับสมาคมฯ อยู่ เหตุผลอะไรกันที่ทำให้พี่บิ๊กตัดสินใจมาทำงานเพื่อส่วนรวมนี้

อยากทำกิจกรรม อยากเจอเพื่อนคนไทยในเยอรมัน พอได้มาลองทำ ได้อยู่ในทีมก็ได้เห็นอะไรภายใน เห็นว่ามีตรงนี้ที่เราทำให้เกิดขึ้นได้ หรือมีกิจกรรมอะไรที่เราอยากทำก็เลยตัดสินใจสมัครเป็นนายกสมาคมฯ ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีครับ” ผู้เขียนได้ถามพี่บิ๊กถึงความประทับใจจากการทำงานสมาคมฯ พี่บิ๊กหัวเราะพร้อมถามกลับคำถามเดียวกัน… ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าการสัมภาษณ์พี่บิ๊กครั้งนี้จะถูกถามคำถามกลับเช่นกัน ด้วยความที่ผู้เขียนเองก็เป็นนายกสมาคมฯ เล่นเอาถึงกับต้องมานั่งคิดไปด้วยเลยค่ะ ได้เห็นเพื่อนคนไทยมาร่วมกิจกรรม มาคุยกัน ได้มีโอกาสทำความรู้จักกับคนใหม่ เป็นสิ่งที่ประทับใจ ทุกอย่างอาจจะไม่ได้เพอร์เฟกต์เหมือนที่เราอยากให้เป็น แต่ก็ถือว่าได้เรียนรู้เป็นประสบการณ์ ให้มองย้อนไป พี่ภูมิใจกับทุกกิจกรรมที่พี่เคยจัด ตอนนั้น แต่แน่นอนว่าก็จะมีบางกิจกรรมที่ภูมิใจกับมันมากเป็นพิเศษ

เป็นเรื่องน่าสงสัยว่าทำไมพี่บิ๊กถึงตัดสินใจเป็นนายก 2 สมัย เพราะตัวผู้เขียนเองนั้นรู้ได้ถึงความเหนื่อยยากของการทำงานนี้ ก็ไม่มีคนสมัครจริง  แต่พี่ก็รู้สึกว่า สมาคมมันมีคุณค่าในตัวมัน ถ้าจะให้พี่แช่แข็งหรือว่าจะให้สมาคมหายไปมันน่าเสียดาย แล้วก็พี่รู้สึกว่า ตอนนั้นอาจจะมีคนที่ยังไม่พร้อม แต่ว่าสามารถมารับช่วงต่อจากพี่ได้ในอนาคต ก็เลยตัดสินใจที่จะทำอีกปี แต่ก็ต้องให้สมาชิกโหวตรับรองอยู่ดีนะ

 

 

วันที่ 9 มกราคม .. 2561 ที่จะถึงนี้ จะเป็นวันครบรอบ 60 ปีการก่อตั้งสมาคมนักเรียนไทยในเยอรมนีฯ ถ้าหากไม่มีคนแบบพี่บิ๊ก ที่รักสมาคมฯ เห็นคุณค่าของมัน และพร้อมเสียสละเพื่อส่วนรวม สมาคมฯ คงไม่อยู่คู่นักเรียนไทยในเยอรมนีมานานถึงทุกวันนี้

ถ้าอย่างนั้น ไหน ก็ ไหน แล้ว ฝากพี่บิ๊กเชิญชวนคนมาลงสมัครเป็นนายกสมาคมฯ ด้วยเลยก็แล้วกันค่ะ

ถ้ามีโอกาสก็อยากให้ได้มาลองกัน คนเป็นนายกสมาคมฯ นี่หาได้ไม่ง่ายนะ มันทำให้เราได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาด ได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ได้ประสบการณ์หลายอย่าง ได้ลองผิดลองถูก เหนื่อยก็จริง แต่พอเสร็จงานก็รู้สึกคุ้มค่า

 

 

แน่นอนว่าพี่บิ๊กต้องมีความทรงจำมากมายตลอดระยะเวลาหลายปีที่อาศัยอยู่ที่นี่ วันนี้จึงขอมาล้วงลึก12 ปี ที่สุดแห่งเยอรมนีของพี่บิ๊กกันค่ะ

  • อาหารที่ชอบที่สุด

เมนูเดียวเองหรอ ใจร้ายอะ ที่สุดก็คงจะเป็น Grüne Soße ซอสสีเขียวอ่อน เป็นอาหารหลักของเมือง Frankfurt ทำด้วยสมุนไพร 7 ชนิด ต้องมาลองที่ Frankfurt เท่านั้นนะ

  • อาหารที่ไม่ชอบที่สุด

แหม มาถามคนลิ้นจระเข้เนี่ยนะ อาหารเมนซ่า (โรงอาหาร) ละกันครับ ฮ่า พี่จะโดนเมนซ่า Frankfurt ฟ้องมั้ย

  • เมืองที่ชอบที่สุด (ผู้เขียนเดาว่า Frankfurt)

ใช่ครับ Frankfurt ชีวิตมันดีนะอยู่เมืองนี้ ก็มีคนที่ไม่ชอบ แต่มันมีคำพูดอยู่Frankfurt: Love at second sight’ เพราะว่ารอบแรกอาจจะยังไม่ชอบ พี่เองก็ใช้เวลา 2 ปีกว่าจะรู้สึกว่าเมืองนี้คือใช่เลย

  • เมืองที่ไม่ชอบที่สุด

ที่เคยไปมาแล้วก็รู้สึกว่าไปได้อีกทุกเมืองนะ แต่ถ้าไม่ได้อยากจะไปเที่ยวอีกก็คงจะเป็นปารีสแต่ว่ามันไม่ได้อยู่ในเยอรมัน ฮ่า

  • เหตุการณ์ที่ประทับใจที่สุด

น่าจะเป็นวันประชุมสามัญประจำปี ตอนที่หมดวาระครั้งที่ 2 ตอนนั้นมีการร้องเพลงอำลาด้วย ซึ้งมาก

  • ประทับใจอะไรในประเทศเยอรมนีที่สุด

คนเยอรมันส่วนใหญ่มองคนเท่ากัน รู้สึกว่าได้รับความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเค้าให้ความสำคัญกับคนในฐานะที่เป็นมนุษย์ ตัวอย่างเช่น มีอนุสรณ์รำลึกเหตุการณ์ต่าง ในอดีตที่เคยมีคนถูกฆ่าล้างหรือปฏิบัติอย่างไม่ใช่มนุษย์ ซึ่งการรำลึกอะไรแบบนี้พี่ยังไม่เห็นที่ไทย กับคนปัจจุบันเขาก็ respektvoll เหมือนกันนะ คือเขาเคารพความเป็นส่วนตัวของเรา และ (มักจะไม่นำลักษณะหรืออัตลักษณ์ของคนอื่นมาเป็นเรื่องล้อเล่น หรือมาทำให้เจ้าตัวรู้สึกด้อยค่า นอกจากนี้ก็ไม่ยึดติดกับ stereotype เท่าคนไทย หน่วยงานก็ไม่เลือกปฏิบัติ

 

เป็นยังไงกันบ้างคะ หลังจากได้อ่านบทสัมภาษณ์ของพี่บิ๊กกันไป สำหรับตัวผู้เขียนนั้นบอกได้เลยว่าเป็นการพูดคุยที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจมากมาย รวมไปถึงกำลังใจที่อยากจะทำกิจกรรมร่วมกับสมาคมฯ ต่อ ๆ ไปในอนาคตให้ดียิ่งขึ้น หวังว่าผู้อ่านทุกท่านเองก็คงได้รับอะไรไปไม่มากก็น้อยนะคะ

 


 

สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณพี่บิ๊กที่เสียสละเวลามาแบ่งปันเรื่องราวดี ตลอดระยะเวลา 12 ปีให้กับพวกเราทุกคน

พบกันใหม่เดือนหน้ากับ Person of the Month vol. 7 จะเป็นใคร ติดตามรอชมกันได้เลยค่ะ

สามารถติดตามข่าวสารกิจกรรม และคอนเทนต์ต่าง ๆ ของส.น.ท.ย.ได้ที่ เพจของทางสมาคมฯ และ เฟสบุ๊คของสมาคมฯ เลยนะคะ